ข้ามไปเนื้อหา

SMEs Project

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (อังกฤษ: SMEs Projects) เป็นโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่มุ่งให้การช่วยเหลือ ทั่วถึงกระจายในทุกภูมิภาค โดยเน้นให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการของตนเอง และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมไทย

แนวคิดโครงการ

[แก้]

การเติบโตของธุรกิจ SMEs นับเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จึงร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดทำโครงการภายใต้กรอบความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่มุ่งเน้น 2แนวทาง คือ การยกระดับทักษะความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ (skills enhancing) และการเพิ่มความสามารในการแข่งขันของSMEs (competintiveness improvement) เพื่อเพิ่มทักษะและคุณภาพด้านบริหารจัดการ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ SMEs ในระดับอุตสาหกรรมและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยทั้งในปรเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังให้ความสำคัญสนับสนุนด้านการเงิน การตลาด การพัฒนาระบบโลจิสติกส เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มความรวดเร็วเพิ่มผลิตภาพ ของอุตสาหกรรมเพื่อเกิดความร่วมมือระหว่างกัน ขยายการพัฒนาอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ SMEs ให้กระจายในภูมิภาคอันเป็นกลไก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมในระดับภูมิภาค

บทสรุปโครงการ

[แก้]

ในการดำเนินโครงการข้างต้น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีเป้าหมายมุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ในทุกระดับ ทุกสาขา อุตสาหกรรมและในทุกพื้นที่ทั่วประเทศให้ได้รับการเพิ่มทักษะความสามารถ (Skill Enhancing) และเพิ่มเติมความสามารถ ในการแข่งขัน (Competitiveness Improvement) โดยมีการวางแผนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอย่างครอบคลุมจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ สร้างต้นแบบการรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจอย่างครบวงจร และสร้างแบบอย่างความสำเร็จหรือ Role Model เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ ผู้ประกอบการ SMEs โดยเน้น ให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการกำหนดความต้องการ กลุ่มเป้าหมาย และการดูแลรูปแบบการพัฒนาให้สอดคล้อง กับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนา เสริมสร้างความรู้ ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการที่สมบูรณ์แบบ อย่างแท้จริง โดยอาศัยพันธมิตรและกลไกเครือข่ายของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่มีอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งได้มีการ ระดมสรรพกำลังและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจากทุกสาขา ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ด้านระบบเครือข่ายและบริหารจัดการของภาคเอกชน มาช่วยกันพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEsไทย ให้เข้มแข็งและมั่นคงเป็นรากฐานที่สำคัญของเศรษฐกิจประเทศ และเศรษฐกิจชุมชนในภูมิภาค

ความสำเร็จทั้งหมดที่ได้รับเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว.ที่ต้องการให้ SMEs ซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐกิจไทยสามารถเพิ่มความสามารถและคุณภาพในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและ ยั่งยืน

โครงการนี้ มีกำหนดดำเนินโครงการระยะเวลา 6 เดือน เริ่มต้นในเดือนมีนาคม 2550 และสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2550 ด้วยเงินงบประมาณ 800 ล้านบาท

โครงการย่อย 6 โครงการ

[แก้]

โครงการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรม

[แก้]

โครงการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรม(Role Model) ดำเนินการสร้างต้นแบบการยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมทั้งระบบ ได้แก่

อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  • โครงการสนับสนุนงานประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ (Thai Print Awards) เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าประกวดงานสิ่งพิมพ์และได้ประกาศผล ในงานประกวดสิ่งพิมพ์แห่งชาติ ครั้งที่ 2 (2nd Thai Print Awards 2007) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ณ.โรงแรมแชงกรีลา เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและประกาศผลความสำเร็จของการยกระดับมาตรฐานการพิมพ์ของประเทศไทยทั้งระบบ
  • โครงการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐาน วัสดุ และอุปกรณ์การพิมพ์ ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐาน วัสดุ และอุปกรณ์การพิมพ์ในนิคม อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร จ.สมุทรสาคร เพื่อให้บริการการทดสอบ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ ให้ได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของต่าง ประเทศ และทำหน้าที่เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนา
  • โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาและโรงเรียนสร้างช่างพิมพ์ ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาและโรงเรียนสร้างช่างพิมพ์ ที่นิคมอุตสาหกรรม การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร จ.สมุทรสาคร เพื่อผลิตช่างพิมพ์ที่มีคุณภาพเพียงพอ กับความต้องการของตลาด
  • โครงการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ กลุ่มธุรกิจสิ่งพิมพ์ จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะกลุ่มธุรกิจสิ่งพิมพ์และรับบุคลากรมาช่วยบริหารงาน โดยจับมือกับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมกันกำหนดหลักสูตรการบ่มเพาะ
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  • ผลิตบุคลากรด้านการมาตรฐานยางเพื่อสร้างและพัฒนามาตรฐานยางในประเทศ และเพิ่มบทบาทของไทยในการกำหนด มาตรฐานสากล ผลิตภัณฑ์ที่ดำเนินการกำหนดมาตรฐานได้แก่ จัดทำร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง-แผ่นยางสำหรับทำ ฝายยาง, ผลิตภัณฑ์ยาง-ยางกันกระแทก, มาตรฐานการทดสอบและข้อกำหนดความทนทานของล้อยางตัน
  • โครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบยางล้อ ให้บริการทดสอบยางล้อให้ได้มาตรฐานสากล และเป็นแหล่งของการวิจัยและพัฒนายางล้อ ยานยนต์ของ SMEs จัดตั้งที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายานครปฐม

โครงการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ SMEs 5 ภูมิภาคและรายสาขา

[แก้]

โครงการจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ SMEs 5 ภูมิภาคและรายสาขา (Incubation Center) จากหลักการและเหตุผล ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมอบหมายให้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในฐานะผู้แทน ภาคเอกชน และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในฐานะผู้แทนภาครัฐ ร่วมมือจัดทำโครงการเพื่อยกระดับทักษะความสามารถ ของผู้ประกอบการโดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้และขีดความสามารถแก่ผู้ประกอบการให้มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจโดยเฉพาะ ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังขาดพื้นฐานความรู้ ด้านการผลิต การตลาด เทคโนโลยี การลดต้นทุน ความพร้อมและทักษะที่เพียงพอสำหรับการ วางแผนการจัดการพัฒนาธุรกิจรวมถึงการขาดเครือข่ายธุรกิจที่จำเป็นต่อการเริ่มธุรกิจใหม่ และเงินทุนที่เพียงพอต่อการเริ่มต้นกิจการ ซึ่งผู้ ประกอบการเหล่านี้กระจายอยู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

ในการนี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้พิจารณาทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อขยายการ ให้บริการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ กระจายไปทั่วถึงในทุกภูมิภาคของประเทศโดยเน้นให้ภาคเอกชน คือ สมาชิกสภาอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดหลักสูตร กลุ่มเป้าหมายและดูแลรูปแบบการบ่มเพาะให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อย่างแท้จริง ทั้งนี้เนื่องจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นแหล่งรวมผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดพัฒนาเสริมสร้างผู้ประกอบการเดิม และสร้างแรง บันดาลใจให้เกิดความต้องการเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งผลจากการจัดทำโครงการนี้ จะสามารถดำเนินการเสริมสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการที่สมบูรณ์แบบ โดยการสนับสนุนและให้บริการที่จำเป็นในการริเริ่มธุรกิจอย่างครบวงจร เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการอย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน ให้เข้ามามีส่วนใน การพัฒนาผู้ประกอบการทั่วประเทศ โดยอาศัยกิจกรรมของ หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นในทุกภูมิภาคของประเทศ
  2. เพื่อวางพื้นฐานการพัฒนาผู้ประกอบการเดิมให้มีความรู้และทักษะในการประกอบธุรกิจ และพัฒนาผู้ประกอบการใหม่หรือทายาทธุรกิจให้เป็น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในด้านต่างๆ อาทิ เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระบวนการผลิต การบริหารต้นทุนการผลิต เป็นต้น

โครงการนี้ได้จัดหลักสูตรอบรมและกิจกรรมโดยเน้นให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชนในพื้นที่เพื่อการยกระดับความรู้ความสามารถ ของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในทุกภูมิภาค โดยได้คัดเลือกผู้ประกอบการ 75 รายเข้าร่วมโครงการศูนย์บ่มเพาะ เป็นจำนวนมากกว่า 5,000 ชั่วโมง

  • ภาคเหนือ : ตั้งศูนย์บ่มเพาะด้านอัญมณี มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร ศูนย์อุดมศึกษาแม่สอด จ.ตาก
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ตั้งศูนย์บ่มเพาะด้านสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ
  • ภาคกลาง : ตั้งศูนย์บ่มเพาะด้านเครื่องเคลือบดินเผา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จ.ราชบุรี
  • ภาคตะวันออก : ตั้งศูนย์บ่มเพาะด้านอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี จ.จันทบุรี
  • ภาคใต้ : ตั้งศูนย์บ่มเพาะด้านไม้ยางพารา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช

โครงการจับคู่ธุรกิจ

[แก้]

โครงการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) มาจากแนวคิดของการเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งภายใต้กระแส โลกาภิวัฒน์ที่ส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านการค้าการลงทุนที่รุนแรงทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs จำเป็นต้องดำเนิน กลยุทธ์การค้าการลงทุนในเชิงรุกและสามารถเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก ซึ่งการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางการตลาด เพื่อกระตุ้นและสร้าง Demand มารองรับผลผลิตของอุตสาหกรรม ตลอดจนการหาตลาดเป้าหมายใหม่ๆ และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่างเหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงของ Supply Chain and Industrial Clusters ยังเป็นส่วนสำคัญ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs

โครงการนี้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริม 4 ด้าน ประกอบด้วย

  1. ส่งเสริมกิจกรรมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ
  2. ส่งเสริมผู้ซื้อพบผู้ขาย
  3. ส่งเสริมให้มีตลาดกลางซื้อขายวัตถุดิบและชิ้นส่วน
  4. ส่งเสริมการจัดซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนระหว่างประเทศ

ดังนั้น การปรับตัวของ SMES ไทยท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์เพื่อช่วงชิงโอกาสในการขยายการลงทุนในและต่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันด้วยการมีต้นทุนที่ต่ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีวัตถุประสงค์

  1. ส่งเสริมการสร้างและขยายธุรกิจการค้าการลงทุน โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายการค้าการลงทุน
  2. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมแสดงศักยภาพ นวัตกรรม เทคโนโลยีของ SMEsในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
  3. เพื่อส่งเสริมการพัฒนา Supply Chain and Industrial Clusters เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ทั้งในระดับ ประเทศและสากล
  4. เพื่อสนับสนุน SMES ไทยเติบโตอย่างเข้มแข็ง ด้วยการให้ข้อมูลที่สำคัญอย่างครบถ้วน
  5. เพื่อสร้างช่องทางเผยแพร่ข้อมูลด้านการตลาด ที่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ

โครงการนี้ช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมให้กับผู้ประกอบการ SMEs โดยส่งเสริมผู้ซื้อพบผู้ขาย เพื่อสร้างพันธมิตร พัฒนาสินค้า เปิดตลาด ยกระดับ SMEs ผ่านกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจและจัดงานแสดงสินค้า มากมายทั้งในประเทศทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเวียดนาม

โครงการกองทุนฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร

[แก้]

โครงการกองทุนฟื้นฟูสภาพเครื่องจักร (Machine Fund) มาจากหลักการและเหตุผล เครื่องจักรเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ การที่ราคาเครื่องจักรมีมูลค่าสูงมาก โดยเฉพาะเครื่องจักรที่มี เทคโนโลยีสูง จึงส่งผลกระทบต่อการลงทุนและขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยและผู้ประกอบการ SMEs อย่างมาก

เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการ และลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมได้มีโอกาสเข้าถึงเครื่องจักรที่เหมาะสมได้อย่างชัดเจน ต่อเนื่อง และบูรณาการ

ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าเครื่องจักรอุตสาหกรรมในอัตราที่สูง ในปี 2548 มีการนำเข้าเครื่องจักรถึง 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 6.8% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของประเทศไทย และมีเครื่องจักรที่นำเข้าสะสมตลอด 20 ปี ผ่านมาจำนวน 8 หมืนล้านเครื่อง ในจำนวนนี้ 50% เป็นเครื่องจักรที่สมควรต้องปรับปรุงประสิทธิภาพเพราะมีสภาพเก่าแก่มาก

เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมได้มีโอกาสได้ใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมฟื้นฟู เครื่องจักรภายในประเทศ และลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ จึงจัดทำโครงการ Machine Fund ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งสนับสนุน เงินทุนดอกเบี้ยต่ำช่วยเหลือผู้ประกอบการจำนวน 50 รายที่ต้องการทุนสำหรับพัฒนาประสิทธิภาพและเทคโนโลยีของเครื่องจักรให้ทันสมัย เพื่อให้ทันกับการแข่งขันด้วยการช่วยจัดหาเงินทุนดอกเบี้ยต่ำและสนับสนุนดอกเบี้ย 3%ให้กับผู้ประกอบการ SMEs เป็นระยะเวลา 5 ปี

โครงการส่งเสริมเครือข่ายระบบจัดส่งสินค้าและพัสดุ

[แก้]

โครงการส่งเสริมเครือข่ายระบบจัดส่งสินค้าและพัสดุ (Logistics Capacity Building )

ดำเนินโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 โครงการย่อย คือ

โครงการพัฒนาขีดความสามารถ SMEs ด้านโลจิสติกส์
เชื่อมโยงกลุ่มเครือข่าย SMEs เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ จัดอบรมความรู้ จัดกิจกรรม และสร้างการรวมกลุ่มให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SMEs พัฒนาการจัดการด้านโลจิสติกส์ จำนวนมากกว่า 1,400 ราย
โครงการ Logistics Clinic
จัดตั้งศูนย์ให้บริการคำปรึกษา ให้ความรู้และแนะนำกลยุทธ์ทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ประกอบการ SMEs และได้เข้าดำเนินการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนจนสมบูรณ์ครบทั้งระบบให้กับSMEsจำนวนมากกว่า10ราย
โครงการพัฒนาต้นแบบ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์
สำรวจและพัฒนาต้นแบบเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์มาตรฐาน ได้แก่ พาเลท คอนเวเยอร์ แขนกล และรวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัย พร้อมกับการเผยแพร่ต้นแบบเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์ (Engineering Design) เพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพ และลดต้นทุนทางด้านเทคโนโลยีโลจิสติกส์ ให้กับผู้ประกอบการ SMEsไทย
โครงการพัฒนารหัสสินค้าบาร์โค้ด
จัดอบรมความรู้เรื่องบาร์โค้ดเบื้องต้น และการประยุกต์ใช้รหัสสินค้าบาร์โค้ดตามภูมิภาค พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนสมาชิกในระบบมาตรฐาน GS1 และจัดพิมพ์สติกเกอร์บาร์โค้ดให้กับผู้ประกอบการ จำนวน 850 ราย เป็นระยะเวลา 2 ปี

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขาระดับจังหวัดและภูมิภาค

[แก้]

โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขาระดับจังหวัดและภูมิภาค (competitiveness Improvement)

ดำเนินโครงการ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 โครงการย่อย คือ

โครงการเติมเต็มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการผลิต
สร้างต้นแบบผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละภาคอุตสาหกรรมยกระดับทักษะความสามารถของผู้ประกอบการ และเติมเต็มความสามารถในการแข่งขัน สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 44 กิจการ ครอบคลุม 37 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 7 กลุ่มจังหวัด
โครงการศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม
พัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศในเรื่องการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ให้ผู้ประกอบการ SMEs ใช้ข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต เบื้องต้นได้ทำการรวบรวมฐานข้อมูลคลัสเตอร์ต้นแบบของกลุ่มเครื่องจักรการเกษตร กลุ่มเครื่องจักรโลหะการ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอะไหล่
โครงการพัฒนาคุณภาพหนังดิบภายในประเทศและพัฒนาผู้ประสานงานพัฒนาคลัสเตอร์
เป็นแบบอย่างความสำเร็จในการเชื่อมโยงธุรกิจภาคอุตสาหกรรมกับภาคเกษตรกรรมโดยร่วมมือกับสถาบันคีนันและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสริมสร้างให้ SMEs เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่มในลักษณะของเครือข่ายวิสาหกิจ ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ วิจัยพัฒนาคุณภาพหนังดิบควบคู่กับการพัฒนาบุคลากร ได้ผู้ประสานงานพัฒนาคลัสเตอร์จำนวน 28 คน เพื่อช่วยสืบทอดและขยายผลโครงการให้เกิดความต่อเนื่อง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]